ผู้แทนสำนักงาน ปปส. ภาค 6 เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดพิษณุโลก ประจำเดือนมิถุนายน 2567 ครั้งที่ 6/2567 ณ ห้องประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (772) ชั้น 7 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก (ตึกใหม่)

เมื่อวันที่ : 12 ก.ค. 2024 16:57
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 6
1 ครั้ง
วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 น. สำนักงาน ปปส.ภ.6 โดยนายวิทวัส บุญธรรมกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ส่วนประสานพื้นที่ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดพิษณุโลก ประจำเดือนมิถุนายน 2567 ครั้งที่ 6/2567 ณ ห้องประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (772)  ชั้น 7  ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก (ตึกใหม่) โดยมีนายนายบุญเหลือ บารมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานการประชุม สาระสำคัญในการประชุม ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์และแนวโน้มปัญหายาเสพติดจังหวัดพิษณุโลก (สำนักงาน ปปส.ภ.6) : สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ ภาค 6 เดือนพฤษภาคม 2567 (ข้อมูลจากส่วนวิเคราะห์ข่าวและเฝ้าระวัง วฝ.) ,กำกับติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดแผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดพิษณุโลก (ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. พ.ศ.2566 – 31 พฤษภาคม พ.ศ.2567) (ข้อมูลจาก สพป.) ,สรุปการใช้จ่ายงบประมาณการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับจังหวัดพิษณุโลก ปีงบประมาณ 2567 จากระบบ GFMIS ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2567 (ข้อมูลจาก ปพ.) , คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี 161/67 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการ ติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด และโครงสร้างกลไก ครส. และกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 (ข้อมูลจาก กกม.)
2. ผลการดำเนินงานด้านการป้องกันยาเสพติด
2.1 การป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา (ศธจ.พล.) การสร้างภูุมิคุ้มกันเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา ชั้นอนุบาล เป้า 420 แห่ง ดำเนินการ ร้อยละ 81.43 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป้า 224 แห่ง ดำเนินการ ร้อยละ 17.86 การสร้างภูุมิคุ้มกัน ชั้น ป.1-6 เป้า 50,104 คน ดำเนินการร้อยละ 87.63 จำนวนสถานศึกษา เป้า 443 แห่ง ดำเนินการ ร้อยละ 84.65 สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษามีการดำเนินกิจกรรมป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด เป้า 221 แห่ง ดำเนินการร้อยละ 78.28
2.2 การป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน
2.2.1 (สรจ.พล) : แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2567 ดังนี้
- ส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ เป้าหมาย จำนวน (แห่ง) 72 แห่ง ดำเนินการ 72 แห่ง เป้าหมาย จำนวน (คน) 360 คน ดำเนินการ 286 คน และเป้าหมาย แรงงานนอกระบบ 744 คน ดำเนินการ 700 คน และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ร้อยละของแรงงานกลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป้าหมายร้อยละ 98 ดำเนินการแล้วร้อยละ 76.02
2.2.2 (สสค.พล.) : รายงานผลการส่งเสริมระบบการจัดการด้านยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ข้อมูล ณ 14 มิ.ย.67 ดังนี้
- กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการ เป้าหมาย 175 แห่ง 4,020 คน ดำเนินการแล้ว 167 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95.43 /ดำเนินการ 3,839 คน คิดเป็นร้อยละ 95.50
- โครงการโรงงานสีขาว เป้า 15 แห่ง ผลการดำเนินงาน 15 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100
- รณรงค์ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานนอกระบบ เป้าหมาย 25 คน ผลการดำเนินงาน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 112
-กิจกรรมดำเนินการค้นหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ เป้าหมาย 300 คน ดำเนินการแล้ว 10 แห่ง 306 คน คิดเป็นร้อยละ 102
-กิจกรรมประชุมการจัดทำมาตรฐานการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการ เป้า 1 ครั้ง 20 คน
-กิจกรรมตรวจประเมิน มยส. เป้า 4 แห่งผลการดำเนินงาน 5 แห่ง
2.3 การป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในชุมชน (ศอ.ปส.จ.พล.) : 
- การตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ 1 ตุลาคม 66 ถึงปัจจุบัน จำนวน 5,619 คน พบสารเสพติด 16 คน 
- จัดระเบียบสังคม 1 ตุลาคม 66 ถึงปัจจุบัน ตามคำสั่ง คสช.ที่ 22/2558 ลว.22 ก.ค.58 ออกตรวจ 411 ครั้ง พบการกระทำผิด 1 แห่ง (ร้าน the canteen อ.เมือง)
-ผลการจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของ ศป.ปส.อ. (ศอ.ปส.จ.พล) : ข้อมูล ณ 17 พ.ค. 67 ดำเนินการสะสม จำนวน 57 คดี จำนวน 64 คน
2.4 TO BE NUMBER ONE (สสจ.พล.) 
2.5 กองทุนแม่ของแผ่นดิน (พช.พล.)
3. ผลการดำเนินงานด้านการปราบปรามยาเสพติด (ภจว.พล.) วันที่ 1-31 พฤษภาคม 2567 จับกุม 165 คดี ผู้ต้องหา 169 คน และ วันที่ 1-18 มิถุนายน 2567 จับกุม 89 คดี ผู้ต้องหา 103 คน
4. ผลการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษายาเสพติด
4.1 การบำบัดรักษาระบบสมัครใจ (สสจ.พล.) : ข้อมูล ณ 15 มิ.ย. 67 ผลการดำเนินงานสะสม ระบบสมัครใจ ดำเนินการสะสม 841 ราย (แยกเป็น มาตรา 113 จำนวน 190 ราย มาตรา 114 จำนวน 651 ราย) ระบบศาล 88 ราย ได้แก่ (ป.อ.มาตรา 56 จำนวน 21 ราย มาตรา 166 จำนวน 12 ราย มาตรา 168 จำนวน 55 ราย) และระบบต้องโทษ  สะสมรวม 290 ราย รวมดำเนินการสะสมทุกระบบทั้งสิ้น 1,219 ราย จากเป้าหมาย 1,236 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.62
-โดยมีผู้รับการบำบัดรักษามากสุดที่ อำเภอเมือง 366 ราย อ.วังทอง 319 ราย อ.ชาติตระการ 127 ราย ตามลำดับ
-โดยพบในอาชีพรับจ้าง มากสุดร้อยละ 57.75 รองลงมาอาชีพว่างงาน ร้อยละ 18.79 และอาชีพการเกษตร ร้อยละ 10.09 ตามลำดับ
-โดยเป็นระดับผู้เสพมากสุดร้อยละ 80.39 ผู้ติด ร้อยละ 16.08 และผู้ใช้ ร้อยละ 3.53
-โดยตัวยาเสพติดที่ใช้ ยาบ้า มากสุดร้อยละ 95.82
ไอซ์ ร้อยละ 1.72 กัญชา ร้อยละ 2.21 (27 คน) กระท่อม ร้อยละ 0.08 (1 คน) และเฮโรอีน ร้อยละ 0.08 (1คน)
4.2 การบำบัดรักษาระบบต้องโทษ
4.2.1 (รจก.พล.) : ผู้ต้องขังคดียาเสพติด 3,910 คน คิดเป็นร้อยละ 77.04 จากผู้ต้องขัง 5,075 คน ข้อมูล ณ 9 มิ.ย. 67
4.2.2 (รจ.จว.พล.) : ผู้ต้องขังคดียาเสพติด 1,880 คน คิดเป็นร้อยละ 81.31 จากผู้ต้องขัง 2,312 คน ข้อมูล ณ 13 มิ.ย. 67
4.2.3 (ทัณฑสถานหญิง พล.) ผู้ต้องขังคดียาเสพติด 525 คน คิดเป็นร้อยละ 67.48 จากผู้ต้องขัง 778 คน ข้อมูล ณ 14 มิ.ย. 67
4.2.4 (สนง.คุมประพฤติ พล.)
4.2.5 (สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พล.) : ฐานความผิดยาเสพติด 42 ราย จากเด็กและเยาวชนรวมทั้งหมด 66 ราย ข้อมูล ณ 14 มิ.ย. 67
5. ผลการดำเนินงานด้านอำนวยการและบริหารจัดการ 
5.1 งบประมาณการบริหารจัดการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
5.1.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สถจ.พล.) : งบประมาณรวม 49,292,285 บาท ผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 88.80
5.1.2 งบกรมการปกครอง : งบประมาณรวม 786,260 บาท ผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 46.11
5.1.3 งบกระทรวงสาธารณสุข (กองร้อย อส.จ.พล.) : งบประมาณรวม 2,108,575 บาท เบิกจ่าย ร้อยละ 50.70
5.2 การเบิกจ่ายงบประมาณ (ศอ.ปส.จ.พล.) : งบสำนักงาน ป.ป.ส. 420,000 บาท เบิกจ่าย 274,375 บาท คิดเป็นร้อยละ 65.33
6.ผลการปฏิบัติงานของ ศป.ปส.อ.ในพื้นที่พิษณุโลก เดือนมิถุนายน 2567

 


 

ข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

YouTube search download
Q&A FAQ