วันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2567 สำนักงาน ปปส.ภ.6 โดยนายวิทวัส บุญธรรมกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ส่วนประสานพื้นที่ ร่วมตรวจเยี่ยมสำรวจเพื่อจัดตั้ง สถานฟื้นฟูสมรรณภาพ ประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพภาครัฐ จังหวัดพิษณุโลก ตามคำสั่งคณะอนุกรรมการจัดตั้งและควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ศูนย์คัดกรองสถานพยาบาลยาเสพติดสถานพื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ที่ 3/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานจัดตั้งสถานพยาบาลยาเสพติดและสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รับรองคุณภาพการดำเนินงานศูนย์คัดกรองและศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมระดับจังหวัด โดยมีนายชินวัฒน์ ชมประเสริฐ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานคณะทำงาน โดยจังหวัดพิษณุโลกได้มีการยื่นคำขอจัดตั้ง “ประเภทสถานฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด” ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 คณะทำงานจัดตั้งฯระดับจังหวัด ลงพื้นที่ ตรวจสถานที่ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การจัดตั้งและรับรองคุณภาพสถานพยาบาลยาเสพติด สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2565 รายละเอียด การดำเนินงาน ดังนี้
1.) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม เรือนจำกลางพิษณุโลก ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง
1.1 ซึ่งมีผู้ต้องขังที่มีประวัติการใช้ยาเสพติด 3,432 คน
1.2 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบ่งเป็น พยาบาลวิชาชีพ 7 คน นักจิตวิทยาคลินิก 1 คน นักสังคมสงเคราะห์ 1 คน
และเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษา 5 คน
1.3.1 จำแนก : กรองผู้ต้องขังเข้าใหม่ในเรือนจำ ทุกรายด้วยแบบคัดกรอง V2
1.3.2 บำบัดฟื้นฟู : ผู้ใช้ : BA BI ผู้เสพ : หลักสูตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เวลา 12 วัน) ผู้ติด : ชุมชนบำบัด
1.3.3 เตรียมความพร้อมก่อนปล่อย : หลักสูตรการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องขังติดยาเสพติดก่อนพ้นโทษในเรือนจำ/ทัณฑสถาน
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ มีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงรูปแบบ การนำเสนอตามประเด็นใน “แบบบันทึก อาทิเช่น ผู้ขอดำเนินการ ,ภาพถ่ายอาคารสถานที่ ,เครื่องมือเครื่องใช้ ,ระบบป้องกันอัคคีภัย ,ระบบแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย ,การบริหารจัดการความเสี่ยง และ แผนการฟื้นฟูฯ เป็นต้น
2.) เวลา 11.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดพิษณุโลก ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก โดยมีนางลดาวัลย์ ปั่นเงิน ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดพิษณุโลกร่วมให้การต้อนรับ
2.1 จำนวนเด็กและเยาวชนที่ถูกควบคุมตัวในสถานแรกรับ คดียาเสพติด คิดเป็นร้อยละ 44.62 (58 คน) จำนวนเด็กและเยาวชนที่สามารถรับได้ 70-100 คน
2.2 บุคลากร พยาบาล 1 คน นักจิตวิทยาคลินิก 2 คนได้ผ่านการอบรมหลักสูตร การบำบัดฟื้นฟูรูปแบบเสริมสร้างแรงจูงใจในผู้ติดยาเสพติดสำหรับนักวิชาชีพในสถานควบคุม (สำหรับนักจิตวิทยา) เมื่อ 5 - 9 สิงหาคม 2567 และ นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ 1 คน ผ่านการอบรมหลักสูตร FAST Model (สบยช. ปี 2567)
2.3 การรับผู้เข้าฟื้นฟูฯ รับเด็กและเยาวชนชาย - หญิง อายุ 12 - 18 ปีบริบูรณ์ สถานพินิจฯจังหวัดพิษณุโลก
รับเด็กและเยาวชนตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป
2.4 แนวทางการบำบัดรักษาและพื้นฟูสมรรถภาพเด็กและเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาและสารเสหติดในสถานที่ควบคุม รูปแบบ Youth Modifed - FASTIC (YM -FASTIC) เช่น
-ส่งเสริมความรับผิดชอบของครอบครัว (Family) -กิจกรรมทางเลือก (Alternative Activities)
-กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อช่วยตนเอง (Self-help)
-กิจกรรมชุมชนบำบัด (Therapeutic Community)
-กิจกรรมการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูแบบเข้มข้น (Intensive interventions)
-การสงเคราะห์ ช่วยเหลือ และส่งต่อ (Case Management)
ในการนี้ผู้แทน ปปส.ภาค 6 ให้ข้อเสนอแนะในการบันทึกข้อมูลในระบบ บสต. เพื่อใช้ประโยชน์ในการกำกับติดตามตัวชี้วัดแผนบูรณาการด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ 2567 กรณี “ร้อยละ 92 ของหน่วยบริการบำบัดฯ“ และ “ร้อยละ 75 ของการพัฒนาพฤตินิสัยฯ ”ให้เป็นไปตามตัวชี้วัดที่สำนักงาน ป.ป.ส.กำหนดไว้
ซึ่งผลการตรวจสอบภาพรวมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดตั้งสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามประกาศคณะกรรมการบำบัดรักษาฯ
โดยจักนำเสนอคณะทำงานจัดตั้งสถานพยาบาลยาเสพติด และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รับรองคุณภาพการดำเนินงานศูนย์คัดกรอง และศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัด พิษณุโลกเพื่อดำเนินการจัดประชุมในวันพุธที่ 28 สิงหาคม 2567 ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เพื่อพิจารณาต่อไป