วันพุธที่ 27 มีนาคม 2567 สำนักงาน ปปส.ภ.6 โดยนายมานพ แสงโสทร ผชช.ปปส.ภ.6 พร้อมด้วยนายเอกชัย รัตนจันทร์ศิริ ผอ.ปพ. และเจ้าหน้าที่ ปพ. ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเข้าร่วมการตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินโครงการชุมชนบำบัดอย่างยั่งยืน ในตำบลแพร่ระบาดยาเสพติดสูงสุด 100 ตำบล ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล พื้นที่ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีพลตำรวจโท นพดล ศรสำราญ ที่ปรึกษาสำนักงาน ป.ป.ส. และคณะ นำการตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินโครงการฯ รายละเอียดดังนี้
1. เวลา 10.00 น. ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินโครงการชุมชนบำบัดอย่างยั่งยืน ในตำบลแพร่ระบาดยาเสพติดสูงสุด 100 ตำบล ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ณ อาคารเอนกประสงค์ บ้านม่วงตาล หมู่ที่ 2 ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ารับการตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินโครงการฯ ประกอบด้วย ผบก.ภ.จว.อุตรดิตถ์ รอง ผบก.ภ.จว.อุตรดิตถ์ ผกก.สภ.พิชัย เจ้าหน้าที่ รพ.สต. รองนายกอบต.คอรุม ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. ประชาชน และผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดในพื้นที่
2.เวลา 11.30 น.เข้าร่วมการตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินโครงการชุมชนบำบัดอย่างยั่งยืน ในตำบลแพร่ระบาดยาเสพติดสูงสุด 100 ตำบล ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ณ อาคารเอนกประสงค์ บ้านคลองน้ำไหล หมู่ที่ 9 ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ารับการตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินโครงการฯ ประกอบด้วย รอง ผบก.ภ.จว.อุตรดิตถ์ ผกก.สภ.พิชัย เจ้าหน้าที่ รพ.สต. รองนายกอบต.คอรุม ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. ประชาชน และผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดในพื้นที่
3.เวลา 14.00 น. เข้าร่วมการติดตามผลการดำเนินโครงการชุมชนบำบัดอย่างยั่งยืน ในตำบลแพร่ระบาดยาเสพติดสูงสุด 100 ตำบล ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ณ ห้องประชุมเพชรคอรุม องค์การบริหารส่วนตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ารับการตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินโครงการฯ ประกอบด้วย รอง ผบก.ภ.จว.อุตรดิตถ์ ผกก.สภ.พิชัย เจ้าหน้าที่ รพ.สต. นายกอบต.คอรุม จนท.ตำรวจ ชปส. ปลัดอำเภอพิชัย สาธารณสุขอำเภอพิชัย พัฒนาการอำเภอพิชัย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. ประชาชน และผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดในพื้นที่
ทั้งนี้ สรุปสาระสำคัญและข้อเสนอแนะของการตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินโครงการฯ ดังนี้
1.โครงการชุมชนบำบัดฯ จะสิ้นสุดโครงการในเดือนเมษายน 2567 ซึ่งพื้นที่เป้าหมายของจังหวัดอุตรดิตถ์ คือ ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีหน่วยงานหลักที่ดำเนินโครงการ คือ สภ.พิชัย มีการ X-ray ค้นหาผู้เสพและให้แสดงตนครอบคลุม 12 หมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งพบผู้เสพ ทั้งสิ้น 214 คน มีการดำเนินการชุมชนบำบัดไปแล้ว 8 ครั้ง
2.หมู่บ้านที่มีจำนวนสัดส่วนครัวเรือนของคุ้มบ้านไม่ครบ/น้อยกว่าจำนวนที่กำหนดตามแนวทางในคู่มือการดำเนินงาน (25-30 ครัวเรือน/1คุ้มบ้าน) ควรมีการกำหนดเพิ่มเติมให้ครบถ้วนเป็นไปตามคู่มือฯ เพื่อให้สามารถดูแลกลุ่มเป้าหมายได้ครบถ้วนและครอบคลุม
3.การตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดในกลุ่มผู้เข้ารับการบำบัดควรดำเนินการตามขั้นตอน จะต้องตรวจปัสสาวะ 4 วัน/ครั้ง โดยให้หัวหน้าคุ้มเป็นผู้เก็บข้อมูล/สมุดประจำตัวของผู้เข้ารับการบำบัด และหากหมู่บ้านใดยังดำเนินการไม่ครบตามขั้นตอนให้มีการติดตามการตรวจปัสสาวะให้ครบถ้วน
4.กรณีการนำผู้เข้ารับการบำบัดจากหมู่บ้านอื่นนอกตำบลที่อยู่ใกล้เคียงมาร่วมโครงการต้องให้ครอบครัวและคนในหมู่บ้านชุมชนนั้นๆ มาร่วมกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนโครงการไปด้วยกัน
5.การกำหนดจุดบริการการบำบัดที่เดียวในกรณีที่มีผู้เข้ารับการบำบัดจำนวนมากควรมีการทบทวนเพิ่มจุดบริการเพื่อให้กระบวนการบำบัดมีคุณภาพ และควรมีกรอบแผนการบำบัด การทำกิจกรรมเพิ่มเติมในแต่ละวันนอกเหนือกระบวนการบำบัดทางการแพทย์
6.การประเมินความพึงพอใจของประชาชนก่อนและหลังดำเนินโครงการต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ โดย ณ ปัจจุบันการประเมินความพึงพอใจของประชาชนก่อนดำเนินโครงการต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว และต้องมีการประเมินผลให้ครบภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ
7.การบันทึกข้อมูลต้องดำเนินการบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วนทั้ง 3 ระบบ ประกอบด้วยระบบชุมชนยั่งยืนฯ, ระบบซักถาม ของ ตร. และระบบ บสต.ของกระทรวงสาธารณสุข
8.ผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัดและหัวหน้าสถานีต้องดำเนินการประเมินทุกขั้นตอนการดำเนินการในระบบชุมชนยั่งยืนฯ
9.การส่งเสริมสนับสนุนในการประกอบอาชีพควรมีการเชื่อมโยงกับศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมสาขาในพื้นที่ โดยพิจารณาจากความต้องการและศักยภาพของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด
ในการนี้ ผู้แทนสำนักงาน ปปส.ภาค 6 ได้นำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนในขั้นตอนส่งต่อความยั่งยืน เช่น แนวทางการมอบทุนประกอบอาชีพผู้ผ่านการบำบัดรักษา การเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน โดยใช้กลไกการเฝ้าระวัง การกำหนดแผนงาน/กระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านชุมชน เป็นต้น