ผู้แทนสำนักงาน ปปส. ภาค 6 เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษายาเสพติดจังหวัดพิจิตร (โต๊ะข่าว) ณ ห้องศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดพิจิตร

เมื่อวันที่ : 18 มี.ค. 2567 16:06
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 6
1 ครั้ง
วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 น. สำนักงาน ปปส.ภ.6 โดยนายวิทวรรณ นุชแผน นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ วฝ. และนางสาวเนาวรัตน์ นาคดี นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ ปพ. เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษายาเสพติดจังหวัดพิจิตร (โต๊ะข่าว) ณ ห้องศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดพิจิตร ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดพิจิตร โดยมีนายสิงหราช วงษ์เสงี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมีสาระสำคัญในการประชุมสรุปดังนี้
 
1. สำนักงาน ปปส.ภ.6 นำเสนอดังนี้
    1.1 สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เดือนกุมภาพันธ์ 2567 โดยมีตัวยาที่ควรเฝ้าระวังการแพร่ระบาดคือ แสตมป์ที่เคลือบสาร LSD ซึ่งจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ที่ออกฤทธิ์หลอนประสาท
    1.2 ปฏิบัติการลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติด ระยะ 1 ปี ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนของจังหวัด ซึ่งเน้นในเรื่องแนวปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ การป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน และเสริมสร้างบทบาทของหมู่บ้านชุมชนในการแก้ไขปัญหา เพื่อลดผู้เสพรายใหม่ การลดความรุนแรงของปัญหาจิตเวชจากยาเสพติด และการปราบปรามผู้ค้ารายย่อยในพื้นที่หมู่บ้านชุมชน
 
2. ผู้แทน กอ.รมน. จังหวัดพิจิตร ได้นำเสนอ ร่างแผนปฏิบัติการพิทักษ์พิจิตร 67 เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบ ตามข้อสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร โดยระยะเวลาของแผน เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่งประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านยุทธการ ด้านการข่าว ฝ่ายปฏิบัติการ ด้านกำลังพล และด้านส่งกำลังบำรุง โดยกำหนดให้สำนักงาน ปปส.ภ.6 อยู่ในด้านการข่าว ซึ่งมีจุดเน้นที่สำคัญ ได้แก่
    2.1 การป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ได้แก่ โครงการ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา 
    2.2 การลดความรุนแรงของปัญหาจิตเวชจากยาเสพติด ได้แก่ การ X-Ray ค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้านชุมชน โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการทางจิต เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
    2.3 การปราบปรามผู้ค้ารายย่อยในพื้นที่หมู่บ้านชุมชน ได้แก่ ยุทธการฟ้าสาง และยุทธการเด็ดปีกผู้ค้ารายย่อย 
 
3. ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะในการป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ดังนี้
    3.1 สถานศึกษาควรดำเนินกิจกรรม ได้แก่ การจัดประกวดทำสื่อสร้างสรรค์ป้องกันยาเสพติด การนำคู่มือรู้คิด รู้ทัน ป้องกันยาเสพติดไปใช้ในการเรียนการสอนในสถานศึกษา เป็นต้น
    3.2 สำนักงาน ป.ป.ส. ควรพัฒนาสื่อให้เท่าทันตัวยาเสพติดใหม่ๆ เพื่อแจ้งเตือนถึงโทษพิษภัยของยาเสพติดรูปแบบใหม่ไปยังกลุ่มเด็กและเยาวชน
YouTube search download
Q&A FAQ