วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 น. สำนักงาน ปปส.ภาค 6 โดยนายรณยุทธ ศรีน้อย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ เป็นผู้แทนสำนักงาน ปปส.ภาค 6 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครสวรรค์ (ศอ.ปส.จ.นครสวรรค์) ครั้งที่ 6 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุม 301 ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ โดยมี นายสุวัฒน์ จันทร์สุข ปลัดจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย หัวหน้าและผู้แทนส่วนราชการ สรุปสาระสำคัญการประชุม ดังนี้
1.ผู้แทน ปปส.ภ.6 นำเสนอ
1) สรุปสถานการณ์ปัญหายาเสพติด การจับกุมยาเสพติดคดีสำคัญ ตัวยาแพร่ระบาด และการเฝ้าระวัง
2) ผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดรายจังหวัด (1 ตุลาคม 2566 - 13 มีนาคม 2567)
3) รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด (1 ตุลาคม 2566 – 15 มีนาคม 2567)
4) เน้นย้ำการบันทึกผลการดำเนินงานในระบบ Nispa
2.ฝ่ายอำนวยการ ศอ.ปส.จ.นครสวรรค์ นำเสนอ
1) แจ้ง ศป.ปส.อ. เร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะเร่งด่วน (Quick Win) ให้เป็นไปตามข้อสั่งการของกระทรวงมหาดไทย และรายงานผลการดำเนินงานให้ ศอ.ปส.จ.นครสวรรค์ ทราบอย่างต่อเนื่อง
2) การดำเนินการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด รูปแบบ “นครสวรรค์โมเดล” โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งทุกอำเภอดำเนินการแล้ว
3) การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด และการสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โดยสนับสนุนทุนประกอบอาชีพรายละไม่เกิน 20,000 บาท
4) รายงานผลการดำเนินการของ ศป.ปส.อ. ในการจัดประชุม/อบรมถ่ายทอดกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้ป่วยจิตเวชรูปแบบ “เก้าเลี้ยวโมเดล” ซึ่ง ศป.ปส.อ.ได้รายงานข้อมูลแล้ว
5) รายงานผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในภารกิจของ ศป.ปส.อ.ด้านการบำบัดรักษารูปแบบ “นครสวรรค์โมเดล” และการปราบปรามยาเสพติดของฝ่ายปกครอง (ห้วงเดือนตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567)
3.สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ นำเสนอ โครงการขับเคลื่อนหมู่บ้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยกองทุนแม่ของแผ่นดิน ตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย
4.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ นำเสนอ
1) การดำเนินโครงการ TO BE NUMBER ONE จังหวัดนครสวรรค์ ประจำเดือนมีนาคม 2567
2) การดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมในพื้นที่ที่ยังไม่ได้จัดตั้งศูนย์ฯ ขอความร่วมมือ ศป.ปส.อ.ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาดำเนินการจัดตั้งด้วย
5.ศป.ปส.อ.หนองบัว นำเสนอผลการถอดบทเรียนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้ป่วยที่มีอาการจิตเวช
6. ทีมเก้าเลี้ยวโมเดล โดย รองผู้กำกับการสอบสวน สภ.ลาดยาว ซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยจิตเวช รูปแบบ “เก้าเลี้ยวโมเดล” เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ศป.ปส.อ.พิจารณานำไปปรับใช้ในการดำเนินงาน
7.กองบิน 4 ตาคลี นำเสนอการดำเนินงานสถานฟื้นฟูสมรรถภาพพลเมือง กองบิน 4 ตาคลี ระยะเวลา 4 เดือน กำหนดเป้าหมายผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เข้ารับการบำบัด 15 ราย และขอความร่วมมือ ศป.ปส.อ. ทั้ง 15 อำเภอ พิจารณาส่งผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ที่สมัครใจเพื่อเข้ารับการบำบัด อำเภอละ 1 ราย
8.ประธาน เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงาน และศป.ปส.อ. รายงานผลการดำเนินตามมาตรการที่รับผิดชอบให้ ศอ.ปส.จ.นครสวรรค์ รวบรวม เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนต่อไป และเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับการรายงานและลงข้อมูลผลการดำเนินงานในระบบ Nispa ด้วย