วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 น. สำนักงาน ปปส.ภ.6 โดยนายวิทวัส บุญธรรมกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ส่วนประสานพื้นที่ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดพิษณุโลก ประจำเดือนมกราคม 2567 ครั้งที่ 3/2567 ณ ห้องประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (772) ชั้น 7 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก (ตึกใหม่) โดยมีนายนิสิต สวัสดิเทพ ปลัดจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานการประชุม สาระสำคัญในการประชุม รายละเอียด ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์และแนวโน้มปัญหายาเสพติดจังหวัดพิษณุโลก (สำนักงาน ปปส.ภ.6) : กำกับติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดแผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดพิษณุโลก (ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. พ.ศ.2566 – 15 มีนาคม พ.ศ.2567)
และกำกับติดผลงานตามตัวชี้วัดปฏิบัติการลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติด ระยะ 1 ปี ตามนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล จังหวัดพิษณุโลก ข้อมูล ณ 15 มีนาคม พ.ศ.2567 (ข้อมูลจาก สพป.)
2. ผลการดำเนินงานด้านการป้องกันยาเสพติด
2.1 การป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา (ศธจ.พล.)
2.2 การป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน
2.2.1 (สรจ.พล) : แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2567 ดังนี้
- ส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ เป้าหมาย จำนวน (แห่ง) 72 แห่ง ดำเนินการ 41 แห่ง เป้าหมาย จำนวน (คน) 360 คน ดำเนินการ 177 คน และเป้าหมาย แรงงานนอกระบบ 744 คน ดำเนินการ 527 คน และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ร้อยละของแรงงานกลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป้าหมายร้อยละ 98 ดำเนินการแล้วร้อยละ 49.02
2.2.2 (สสค.พล.) : รายงานผลการส่งเสริมระบบการจัดการด้านยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ข้อมูล ณ 15 มี.ค.67 ดังนี้
- กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการ เป้าหมาย 158 แห่ง 3,620 คน ดำเนินการแล้ว 140 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 88.61 /ดำเนินการ 3,215 คน คิดเป็นร้อยละ 88.81
- โครงการโรงงานสีขาว เป้า 15 แห่ง ผลการดำเนินงาน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 60
- รณรงค์ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานนอกระบบ เป้าหมาย 25 คน ผลการดำเนินงาน 25 คน
-กิจกรรมดำเนินการค้นหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ เป้าหมาย 300 คน ดำเนินการแล้ว 8 แห่ง 270 คน คิดเป็นร้อยละ 90
2.3 การป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในชุมชน (ศอ.ปส.จ.พล.) :
- การตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ 1 ตุลาคม 66 ถึงปัจจุบัน จำนวน 3,345 คน พบสารเสพติด 14 คน
- จัดระเบียบสังคม 1 ตุลาคม 66 ถึงปัจจุบัน ตามคำสั่ง คสช.ที่ 22/2558 ลว.22 ก.ค.58 ออกตรวจ 288 ครั้ง พบการกระทำผิด 1 แห่ง (ร้าน the canteen)
-ผลการจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของ ศป.ปส.อ. (ศอ.ปส.จ.พล) : ข้อมูล ณ 19 มี.ค. 67 ดำเนินการสะสม จำนวน 34 คดี จำนวน 39 คน
2.4 TO BE NUMBER ONE (สสจ.พล.)
2.5 กองทุนแม่ของแผ่นดิน (พช.พล.) : แผนปฏิบัติการกิจกรรม Kick off หมู่บ้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยกองทุนแม่ของแผ่นดินระดับจังหวัด
และระดับอำเภอ (อำเภอละ 1 หมู่บ้าน) ภายในเดือนมีนาคม 2567
3. ผลการดำเนินงานด้านการปราบปรามยาเสพติด (ภจว.พล.)
4. ผลการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษายาเสพติด
4.1 การบำบัดรักษาระบบสมัครใจ (สสจ.พล.) : ข้อมูล ณ 15 มี.ค. 67 ผลการดำเนินงานสะสมระบบสมัครใจ ดำเนินการสะสม 555 ราย (แยกเป็น มาตรา 113 จำนวน 81 ราย มาตรา 114 จำนวน 474 ราย) ระบบศาล 69 ราย ได้แก่ (ป.อ.มาตรา 56 จำนวน 11 ราย มาตรา 166 จำนวน 12 ราย มาตรา 168 จำนวน 46 ราย) และระบบต้องโทษ สะสมรวม 166 ราย รวมดำเนินการสะสมทุกระบบทั้งสิ้น 791 ราย จากเป้าหมาย 1,236 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.99
-โดยมีผู้รับการบำบัดรักษามากสุดที่ อำเภอนครไทย 270 ราย อำเภอวังทอง 189 ราย และอำเภอบางระกำ 62 ราย ตามลำดับ
-โดยพบในอาชีพรับจ้าง มากสุดร้อยละ 56.89 รองลงมาอาชีพว่างงาน ร้อยละ 18.96 และอาชีพการเกษตร ร้อยละ 9.23 ตามลำดับ
-โดยเป็นระดับผู้เสพมากสุดร้อยละ 86.98 ,ผู้ติด ร้อยละ 10.49 และผู้ใช้ ร้อยละ 2.53
-โดยตัวยาเสพติดที่ใช้ ยาบ้า มากสุดร้อยละ 96.97
ไอซ์ ร้อยละ 1.64 กัญชา ร้อยละ 1.26 และ กระท่อม ร้อยละ 0.13 (1 คน)
4.2 การบำบัดรักษาระบบต้องโทษ
4.2.1 (รจก.พล.) : ผู้ต้องขังคดียาเสพติด 3,793 คน คิดเป็นร้อยละ 77.55 จากผู้ต้องขัง 4,891 คน ข้อมูล ณ 12 มี.ค. 67
4.2.2 (รจ.จว.พล.) : ผู้ต้องขังคดียาเสพติด 1,999 คน คิดเป็นร้อยละ 80.87 จากผู้ต้องขัง 2,472 คน ข้อมูล ณ 14 มี.ค. 67
4.2.3 (ทัณฑสถานหญิง พล.) ติดภารกิจ
4.2.4 (สนง.คุมประพฤติ พล.)
4.2.5 (สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พล.) : ฐานความผิดยาเสพติด 53 ราย จากเด็กและเยาวชนรวมทั้งหมด 65 ราย ข้อมูล ณ 15 มี.ค. 67
5. ผลการดำเนินงานด้านอำนวยการและบริหารจัดการ
5.1 งบประมาณการบริหารจัดการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
5.1.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สถจ.พล.) : งบประมาณรวม 49,292,285 บาท ผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 2.62
5.1.2 งบกรมการปกครอง : งบประมาณรวม 249,310 บาท ผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 63.28
5.1.3 งบกระทรวงสาธารณสุข (กอวร้อย อส.จ.พล.) : งบประมาณรวม 2,108,575 บาท เบิกจ่าย ร้อยละ 0
5.2 การเบิกจ่ายงบประมาณ (ศอ.ปส.จ.พล.) : งบสำนักงาน ป.ป.ส. 210,000 บาท เบิกจ่าย 143,875 บาท คิดเป็นร้อยละ 68.51
6.ผลการดำเนินงานศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 6 : ข้อมูล ณ ก.พ.67 ผลตรวจพิสูจน์ จำนวน 112 คดี
7.ผลการปฏิบัติงานของ ศป.ปส.อ.ในพื้นที่พิษณุโลก