ผู้แทนสำนักงาน ปปส. ภาค 6 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดอุตรดิตถ์ (ศอ.ปส.จ.อุตรดิตถ์) ครั้งที่ 3/2567 ประจำเดือนมีนาคม 2567

เมื่อวันที่ : 3 เม.ย. 2567 15:08
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 6
0 ครั้ง
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 น. นางสาวเบญจวรรณ  รัตนมงคลกุล นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ ส่วนประสานพื้นที่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดอุตรดิตถ์ (ศอ.ปส.จ.อุตรดิตถ์) ครั้งที่ 3/2567 ประจำเดือนมีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมศิลาอาสน์ ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี นพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ/ผู้แทนเข้าร่วม โดยสรุปสาระสำคัญการประชุม ดังนี้
1. ผู้แทน ปปส.ภ.6 นำเสนอสรุปสถานการณ์ปัญหายาเสพติด  สถิติการจับกุม/การบำบัด ข้อมูลการแพร่ระบาดยาเสพติดในพื้นที่ และแนวโน้มสถานการณ์ข้อพิจารณา 
2. ฝ่ายอำนายการ ศอ.ปส.จ.อุตรดิตถ์ นำเสนอผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติด ระยะ 1 ปี ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล จังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และผลการติดตามผู้ผ่านโครงการช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของจังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (ระบบสารสนเทศยาเสพติดจังหวัด NISPA/ระบบ crime/ระบบ บสต.)
4. ที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมินสถานะหมู่บ้าน/ชุมชน รอบที่ 1/2567 จำนวน 644 แห่ง ไม่ปรากฏปัญหายาเสพติด 496 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 77.02 ปรากฏปัญหายาเสพติด 148 แห่ง ร้อยละ 22.98 
ทั้งนี้ จากผลการประเมิน ผู้แทน ปปส.ภ.6 ได้ให้ข้อสังเกตในการประเมินสถานะหมู่บ้านของบางอำเภอที่ประเมินไม่พบปัญหายาเสพติด พบว่าบางหมู่บ้านยังปัญหามีการแพร่ระบาดของยาเสพติดอยู่ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับผลการประเมิน ควรมีการพิจารณาทบทวนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ยาเสพติดที่เป็นจริง เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาต่อไป 
5. ประธานฯ ให้ความสำคัญเน้นย้ำการดำเนินการดังนี้
-ขอให้สำนักงาน ป.ป.ส. พิจารณาตรวจสอบและหาข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้าว่ามีการนำยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทมาเป็นองค์ประกอบของส่วนผสมด้วยหรือไม่  เพื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันและเฝ้าระวังต่อไป
-สำนักงาน ป.ป.ส. ควรมีการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบผลการดำเนินการบำบัดยาเสพติดในรูปแบบการบำบัด CBTx กับค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมว่าการดำเนินการรูปแบบใดประสบผลสำเร็จอย่างไร เพื่อนำผลการวิจัยไปปรับปรุงพัฒนาระบบการบำบัดยาเสพติดต่อไป
-ขอให้ ศป.ปส.อ.ทุกแห่งดำเนินการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ.2567 ในเวทีการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือนเพื่อไปชี้แจงให้กับประชาชนในหมู่บ้านชุมชนของตนได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง
YouTube search download
Q&A FAQ