วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 14.00 น. สำนักงาน ปปส.ภ.6 โดยนายวิทวัส บุญธรรมกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และ นางสาวรัชนีพร วุฒิ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ส่วนประสานพื้นที่ ปฏิบัติราชการในพื้นที่ อำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย ดังนี้
1.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุโขทัย กำกับติดตามการจัดทำรายงานผลฯ และเอกสารการเงินของ เครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดสุโขทัย ตามข้อ 34 ของระเบียบสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยงบเงินอุดหนุนด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2566 จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการมหกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2565-2566 , โครงการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดจังหวัดสุโขทัย และโครงการสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2566
2.) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสุโขทัย ครั้งที่ 4/2567 ประจำเดือนเมษายน 2567 โดยมีนายณัฏฐพงศ์ สุขวิสิฏฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธาน ณ ห้องประชุมคีรีมาศ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย และออนไลน์ผ่านช่องทาง DOPA VCS สาระสำคัญของการประชุม รายละเอียด ดังนี้
2.1) สำนักงาน ปปส.ภ.6 : กำกับติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดแผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดสุโขทัย (ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. พ.ศ.2566 – 18 เมษายน พ.ศ.2567) และกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดปฏิบัติการลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติด ระยะ 1 ปี ตามนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล จังหวัดสุโขทัย ข้อมูล ณ 14 เมษายน พ.ศ.2567 (ข้อมูลจาก สพป. สยศ.)
2.2) ภจว.สท. : สถานการณ์การแพร่ระบาดและผลการจับกุมยาเสพติดจังหวัดสุโขทัย เมษายน 2567 ดังนี้
-จำนวนของกลางที่ตรวจยึด/จับกุมได้ ยาบ้า 8,419 เม็ด และไอซ์ 0.54 กรัม
-มาตรการด้านยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด ผลการดำเนินงาน 3,748,260 บาท
-ความคืบหน้าผลการปฏิบัติตามโครงการชุมชนบำบัดอย่างยั่งยื่นในตำบลแพร่ระบาดยาเสพติดสูงสุด (ตำบลเมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย) มีผลการค้นหาผู้เสพยาเสพติดในพื้นที่ เพื่อเข้าร่วมตามกระบวนการบำบัดรักษา จำนวน 214 คน
-พิสูจน์หลักฐานจังหวัดสุโขทัย ข้อมูล ณ 25 เมษายน 2567 ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (ยาบ้า, ยาไอซ์) ตรวจพบเมทแอมเฟตามีน รวมทั้งสิ้น 77 คดี และความบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนที่ตรวจพบโดยเฉลี่ยยาบ้าสีแดงและสีส้ม ประมาณร้อยละ 18 ยาบ้าสีเขียวประมาณร้อยละ 0.10
2.3) การป้องกันกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา
2.4) การป้องกันกลุ่มเสี่ยงในสถานประกอบการ
2.4.1 สำนักงานแรงงานจังหวัดสุโขทัย (สรจ.สท.)
-เป้าหมายกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เพื่อป้องกันยาเสพติด (สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ต่ำกว่า 10 คนลงมา) เป้าหมาย 72 แห่ง ดำเนินการ 66 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 91.67 ,เป้าหมาย 360 คน ดำเนินการ 302 คน คิดเป็นร้อยละ 83.89
-ส่งเสริมและให้ความรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานนอกระบบ เป้าหมาย 688 คน ดำเนินการ 840 คน คิดเป็นร้อยละ 122.09
2.4.2 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (สสค.สท.) ผลการดำเนินการตามแผนการสร้างภูมิคุ้มกันในกลุ่มสถานประกอบกิจการ ประจำปีงบประมาณ 2567 ดังนี้
-กิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ในสถานประกอบกิจการ (ลูกจ้าง 10 คนขึ้นไป) เป้าหมาย 89 แห่ง ดำเนินการ 89 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 เป้าหมาย 1,357 คน ดำเนินการ 2,592 คน
-โครงการโรงงานสีขาว เป้าหมาย 12 แห่ง ดำเนินการ จำนวน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75
-กิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ สร้างการรับรู้โทษและพิษภัยของยาเสพติดในกลุ่มแรงงานนอกระบบ 25 คน ดำเนินการ 96 คน คิดเป็นร้อยละ 384
-กิจกรรมค้นหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ 300 คน ดำเนินการ 454 คน คิดเป็นร้อยละ 151.33
2.5) การขับเคลื่อนความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้าน/ชุมชนในเขตพื้นที่โครงการกองทุนแม่ของแผ่นดิน: พช.สท. : ผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ โดยปัจจุบันจังหวัดสุโขทัย มีหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 265 หมู่บ้าน/ชุมชน และยัง คงเหลือหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ยังไม่เป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 569 หมู่บ้าน/ชุม
2.6) การบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด : สสจ.สท. ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2567
-เป้าหมาย retention rate ร้อยละ 62 ดำเนินการร้อยละ 44.03
- ผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดในสถานพยาบาล จำนวน 607 คน
- จำนวนผู้เข้ารับการบำบัดรักษาจำแนกรายโรงพยาบาล : รพ.สุโขทัย 160 คน ,รพ.คีรีมาศ 110 ,รพ.สวรรคโลก 109 คน และ รพ.ทุ่งเสลี่ยม 83 คน
- ยาเสพติดหลักที่ใช้ : ยาบ้า ร้อยละ 99.18 กัญชา 0.16 และไม่ระบุ 0.66
- ร้อยละผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษา จำแนกตามอาชีพ : รับจ้าง 46.95 ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 25.21 เกษตร 13.34 และ ว่างงาน 8.73 ตามลำดับ
2.7) กระบวนการบำบัดแบบฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดและสารเสพติด โดยชุมชนมีส่วนร่วมแบบสร้างแรงจูงใจจังหวัดสุโขทัย (CBTx รุ่งอรุณ) การขับเคลื่อน CBTx “ชุมชนล้อมรักษ์” จ.สุโขทัย ภายใต้ “CBTx รุ่งอรุณ” เริ่ม 1 เมษายน 67 ครบท้ัง 9 อำเภอ (843 หมู่บ้าน 23 ชุมชน)
2.8) การรายงานผลการยกระดับการแก้ปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ของจังหวัดสุโขทัย โดยการสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม ดังนี้
2.9) เรือนจำจังหวัดสุโขทัย : สถิติผู้ต้องขังความผิดยาเสพติด 800 คน จากผู้ต้องขัง 1,103 คน
2.10) เรือนจำอำเภอสวรรคโลก : ผู้ต้องขังความผิดยาเสพติด คิดเป็นร้อยละ 79.20
2.11) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของศป.ปส.อ. 9 อำเภอ