ผู้แทนสำนักงาน ปปส. ภาค 6 เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดพิษณุโลก ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 5/2567 ณ ห้องประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (772) ชั้น 7 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ​

เมื่อวันที่ : 6 มิ.ย. 2567 15:38
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 6
3 ครั้ง
วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.30 น. สำนักงาน ปปส.ภ.6 นำโดยนายเอกชัย รัตนจันทร์ศิริ ผู้อำนวยการส่วนประสานพื้นที่ และนายวิทวัส บุญธรรมกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดพิษณุโลก ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 ครั้งที่ 5/2567 ณ ห้องประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (772)  ชั้น 7  ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก (ตึกใหม่) 
โดยมีนายนายบุญเหลือ บารมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานการประชุม สาระสำคัญในการประชุม ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์และแนวโน้มปัญหายาเสพติดจังหวัดพิษณุโลก (สำนักงาน ปปส.ภ.6) : กำกับติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดแผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดพิษณุโลก (ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. พ.ศ.2566 – 18 พฤษภาคม พ.ศ.2567)  (ข้อมูลจาก สพป.) และแนวทางการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน) ประจำปี 2567 (ข้อมูลจาก สอ.) และ ภาพรวมแผนปฏิบัติการเร่งรัดการดำเนินงานป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดระยะเร่งด่วน 3 เดือน (1 มิ.ย. - 31 ส.ค. 2567) (ข้อมูลจาก สยศ.)
2. ผลการดำเนินงานด้านการป้องกันยาเสพติด
 2.1 การป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา (ศธจ.พล.) การสร้างภูุมิคุ้มกันเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา ชั้นอนุบาล เป้า 429 แห่ง ดำเนินการ ร้อยละ 78.81 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป้า 224 แห่ง ดำเนินการ ร้อยละ 17.86 การสร้างภูุมิคุ้มกัน ชั้น ป.1-6 เป้า 50,104 คน ดำเนินการร้อยละ 70.97 จำนวนสถานศึกษา เป้า 443 แห่ง ดำเนินการ ร้อยละ 81.94 สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษามีการดำเนินกิจกรรมป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด เป้า 221 แห่ง ดำเนินการร้อยละ 75.11
2.2 การป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน
2.2.1 (สรจ.พล) : แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2567 ดังนี้
- ส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ เป้าหมาย จำนวน (แห่ง) 72 แห่ง ดำเนินการ 62 แห่ง เป้าหมาย จำนวน (คน) 360 คน ดำเนินการ 259 คน และเป้าหมาย แรงงานนอกระบบ 744 คน ดำเนินการ 666 คน และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ร้อยละของแรงงานกลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป้าหมายร้อยละ 98 ดำเนินการแล้วร้อยละ 67.02
2.2.2 (สสค.พล.) : รายงานผลการส่งเสริมระบบการจัดการด้านยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ข้อมูล ณ 15 พ.ค.67 ดังนี้
- กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการ เป้าหมาย 175 แห่ง 4,020 คน ดำเนินการแล้ว 158 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 90.29/ดำเนินการ 3,629 คน คิดเป็นร้อยละ 90.27
- โครงการโรงงานสีขาว เป้า 15 แห่ง ผลการดำเนินงาน 15 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100
- รณรงค์ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานนอกระบบ เป้าหมาย 25 คน ผลการดำเนินงาน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 112
-กิจกรรมดำเนินการค้นหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ เป้าหมาย 300 คน ดำเนินการแล้ว 10 แห่ง 306 คน คิดเป็นร้อยละ 102
-กิจกรรมประชุมการจัดทำมาตรฐานการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการ เป้า 1 ครั้ง 20 คน
-กิจกรรมตรวจประเมิน มยส. เป้า 4 แห่ง ยื่นใบสมัคร 5 แห่ง
2.3 การป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในชุมชน (ศอ.ปส.จ.พล.) : 
- การตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ 1 ตุลาคม 66 ถึงปัจจุบัน จำนวน 3,956 คน พบสารเสพติด 16 คน 
- จัดระเบียบสังคม 1 ตุลาคม 66 ถึงปัจจุบัน ตามคำสั่ง คสช.ที่ 22/2558 ลว.22 ก.ค.58 ออกตรวจ 369 ครั้ง พบการกระทำผิด 1 แห่ง (ร้าน the canteen อ.เมือง)
-ผลการจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของ ศป.ปส.อ. (ศอ.ปส.จ.พล) : ข้อมูล ณ 17 พ.ค. 67 ดำเนินการสะสม จำนวน 53 คดี จำนวน 60 คน
2.4 TO BE NUMBER ONE (สสจ.พล.) 
2.5 กองทุนแม่ของแผ่นดิน (พช.พล.)
3. ผลการดำเนินงานด้านการปราบปรามยาเสพติด (ภจว.พล.) วันที่ 1-30 เมษายน 2567 จับกุม 166 คดี ผู้ต้องหา 180 คน และ วันที่ 1-20 พฤษภาคม 2567 จับกุม 105 คดี ผู้ต้องหา 110 คน
4. ผลการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษายาเสพติด
4.1 การบำบัดรักษาระบบสมัครใจ (สสจ.พล.) : ข้อมูล ณ 15 พ.ค. 67 ผลการดำเนินงานสะสมระบบสมัครใจ ดำเนินการสะสม 700 ราย (แยกเป็น มาตรา 113 จำนวน 119 ราย มาตรา 114 จำนวน 581 ราย) ระบบศาล 84 ราย ได้แก่ (ป.อ.มาตรา 56 จำนวน 20 ราย มาตรา 166 จำนวน 12 ราย มาตรา 168 จำนวน 52 ราย) และระบบต้องโทษ  สะสมรวม 276 ราย รวมดำเนินการสะสมทุกระบบทั้งสิ้น 1,060 ราย จากเป้าหมาย 1,236 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.76
-โดยมีผู้รับการบำบัดรักษามากสุดที่ อำเภอเมือง 325 ราย อ.วังทอง 303 ราย อ.นครไทย 90 ราย ตามลำดับ
-โดยพบในอาชีพรับจ้าง มากสุดร้อยละ 55.75 รองลงมาอาชีพว่างงาน ร้อยละ 19.43 และอาชีพการเกษตร ร้อยละ 10.28 ตามลำดับ
-โดยเป็นระดับผู้เสพมากสุดร้อยละ 84.62 ผู้ติด ร้อยละ 12.83 และผู้ใช้ ร้อยละ 2.55
-โดยตัวยาเสพติดที่ใช้ ยาบ้า มากสุดร้อยละ 96.51
ไอซ์ ร้อยละ 1.89 กัญชา ร้อยละ 1.42 (15 คน) และ กระท่อม ร้อยละ 0.09 (1 คน)
4.2 การบำบัดรักษาระบบต้องโทษ
4.2.1 (รจก.พล.) : ผู้ต้องขังคดียาเสพติด 3,838 คน คิดเป็นร้อยละ 77.22 จากผู้ต้องขัง 4,970  คน ข้อมูล ณ 14 พ.ค. 67
4.2.2 (รจ.จว.พล.) : ผู้ต้องขังคดียาเสพติด 2,202 คน คิดเป็นร้อยละ 94.50 จากผู้ต้องขัง 2,330 คน ข้อมูล ณ 15 พ.ค. 67
4.2.3 (ทัณฑสถานหญิง พล.) 
4.2.4 (สนง.คุมประพฤติ พล.)
4.2.5 (สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พล.) : ฐานความผิดยาเสพติด 36 ราย จากเด็กและเยาวชนรวมทั้งหมด 62 ราย ข้อมูล ณ 16 พ.ค. 67
5. ผลการดำเนินงานด้านอำนวยการและบริหารจัดการ 
5.1 งบประมาณการบริหารจัดการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
5.1.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สถจ.พล.) : งบประมาณรวม 49,292,285 บาท ผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 97.95
5.1.2 งบกรมการปกครอง : งบประมาณรวม 786,260 บาท ผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 30.07
5.1.3 งบกระทรวงสาธารณสุข (กองร้อย อส.จ.พล.) : งบประมาณรวม 2,108,575 บาท เบิกจ่าย ร้อยละ 10.20
5.2 การเบิกจ่ายงบประมาณ (ศอ.ปส.จ.พล.) : งบสำนักงาน ป.ป.ส. 280,000 บาท เบิกจ่าย 209,125 บาท คิดเป็นร้อยละ 74.69
6.วาระอื่นๆ : แนวทางการจัดกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติดโลกจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ เดินรณรงค์ยาเสพติด ,มอบเกียรติบัตรผู้มีผลงานดีเด่นด้านยาเสพติดให้แต่ละหน่วยงานส่งรายชื่อ ภายใน 12 มิถุนายน 67 กำหนดพิจารณา 18 มิถุนายน 67 และใช้ลานสวนชมน่าน เทศบาลนครพิษณุโลก เป็นสถานที่จัดงานเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม
 
7.ผลการปฏิบัติงานของ ศป.ปส.อ.ในพื้นที่พิษณุโลก
YouTube search download
Q&A FAQ