วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 น. สำนักงาน ปปส.ภ.6 โดยนายวิทวัส บุญธรรมกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ส่วนประสานพื้นที่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสุโขทัย ครั้งที่ 5/2567 ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 โดยมีนาย
นายสุชาติ ทีคะสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธาน ณ ห้องประชุมคีรีมาศ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย และออนไลน์ผ่านช่องทาง DOPA VCS สาระสำคัญของการประชุมรายละเอียด ดังนี้
1.) สำนักงาน ปปส.ภ.6 : สรุปสถานการณ์ยาเสพติด (ห้วง 1 ต.ค.66 ถึง 30 เม.ย.67) (ข้อมูลจาก ปพ. ภจว.สท.) นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่สำคัญ (ข้อมูลจาก สสอ. สยศ. ยอ.) และกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดแผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดสุโขทัย (ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. พ.ศ.66 – 15 พ.ค.67) และเน้นย้ำบทบาทภารกิจการบันทึกผลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ตามแผนปฎิบัติการฯ ประจำปี และปฏิบัติการลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติด ระยะ 1 ปี ตามนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล
2.) ภจว.สท. : สถานการณ์การแพร่ระบาดและผลการจับกุมยาเสพติดจังหวัดสุโขทัย พฤษภาคม 67 ดังนี้
-จำนวนของกลางที่ตรวจยึด/จับกุมได้ ยาบ้า 30,727 เม็ด และไอซ์ 0.81 กรัม
-มาตรการด้านยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด ผลการดำเนินงาน 4,002,260 บาท
-คดีน่าสนใจ วันที่ 2 พ.ค.67 เวลา 16.15 น. สภ.ศรีนคร ร่วมกับ ภ.จว.อุตรดิตถ์,บก.สส.ภ.6,ปปส.ภาค 6 ร่วมกันขยายผลจับกุมผู้ต้องหา จำนวน 2 คน ซึ่งเป็นเครือที่ข่ายเชื่อมโยงในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์และสุโขทัยตรวจยึด ยาบ้ารวมทั้งสิ้น 19,120 เม็ด เหตุเกิดพื้นที่ หมู่ 4
ต.คลองมะพลับ อ.ศรีนคร จว.สุโขทัย
-พิสูจน์หลักฐานจังหวัดสุโขทัย ข้อมูล ณ 25 พ.ค. 67 ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (ยาบ้า, ยาไอซ์) ตรวจพบเมทแอมเฟตามีน รวมทั้งสิ้น 72 คดี และความบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนที่ตรวจพบโดยเฉลี่ยยาบ้าสีแดง/สีส้ม ประมาณร้อยละ 16 ยาบ้าสีเขียวประมาณร้อยละ 0.20 ไอซ์ ร้อยละ 91.49 คีตามีน ร้อยละ 94.65
3.) การป้องกันกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา
4.) การป้องกันกลุ่มเสี่ยงในสถานประกอบการ
4.1 สำนักงานแรงงานจังหวัดสุโขทัย (สรจ.สท.)
-เป้าหมายกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เพื่อป้องกันยาเสพติด (สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ต่ำกว่า 10 คนลงมา) เป้าหมาย 72 แห่ง ดำเนินการ 85 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 118.06 ,เป้าหมาย 360 คน ดำเนินการ 369 คน คิดเป็นร้อยละ 102.50
-ส่งเสริมและให้ความรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานนอกระบบ เป้าหมาย 688 คน ดำเนินการ 902 คน คิดเป็นร้อยละ 131.10
4.2 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (สสค.สท.) ผลการดำเนินการตามแผนการสร้างภูมิคุ้มกันในกลุ่มสถานประกอบกิจการ ประจำปีงบประมาณ 2567 ดังนี้
-กิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ในสถานประกอบกิจการ (ลูกจ้าง 10 คนขึ้นไป) เป้าหมาย 99 แห่ง ดำเนินการ 95 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 เป้าหมาย 1,509 คน ดำเนินการ 2,632 คน (มีการกำหนดเป้าหมายเพิ่มเติม)
-โครงการโรงงานสีขาว เป้าหมาย 12 แห่ง อยู่ระหว่าง ดำเนินการตรวจประเมิน จำนวน 10 แห่ง
-กิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ สร้างการรับรู้โทษและพิษภัยของยาเสพติดในกลุ่มแรงงานนอกระบบ 25 คน ดำเนินการ 96 คน คิดเป็นร้อยละ 384
-กิจกรรมค้นหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ 300 คน ดำเนินการ 355 คน (ผลการตรวจ พบว่า ลูกจ้างใช้สารเสพติด จำนวน 1 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการบำบัดรักษา นายจ้างยังคงให้โอกาสทำงานตามปกติ และให้บำบัดรักษาให้ครบตามกระบวนการ)
-ตรวจประเมินมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (มยส.) เป้าหมาย 1 แห่ง ผลสถานประกอบกิจการแจ้งสมัครเข้าร่วม จำนวน 4 แห่ง
5.) การขับเคลื่อนความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้าน/ชุมชนในเขตพื้นที่โครงการกองทุนแม่ของแผ่นดิน: พช.สท.
6.) การบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด : สสจ.สท. ข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2567
-เป้าหมาย retention rate ร้อยละ 62 ดำเนินการร้อยละ 47.31
- ผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดในสถานพยาบาล จำนวน 656 คน
- จำนวนผู้เข้ารับการบำบัดรักษาจำแนกรายโรงพยาบาล : รพ.สุโขทัย 174 คน ,รพ.สวรรคโลก 116 คน และ รพ.คีรีมาศ 114 คน
- ยาเสพติดหลักที่ใช้ : ยาบ้า ร้อยละ 99.24 กัญชา 0.15 และไม่ระบุ 0.61
- ร้อยละผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษา จำแนกตามอาชีพ : รับจ้าง 45.43 ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 26.07 เกษตร 13.57 และ ว่างงาน 9.15 ตามลำดับ
7.) ผลกระบวนการบำบัดแบบฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดและสารเสพติด โดยชุมชนมีส่วนร่วมแบบสร้างแรงจูงใจจังหวัดสุโขทัย (CBTx รุ่งอรุณ) การขับเคลื่อน CBTx “ชุมชนล้อมรักษ์” จ.สุโขทัย ภายใต้ “CBTx รุ่งอรุณ” เป้าหมาย 567 ราย บำบัดครบ 1 เดือน 22 ราย ระหว่างบำบัด 534 ราย Matrix program 10 ราย และศูนย์ธัญญารักษ์ 1 ราย
8.) การรายงานผลการยกระดับการแก้ปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ของจังหวัดสุโขทัย โดยการสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม ดังนี้
9.) เรือนจำจังหวัดสุโขทัย : สถิติผู้ต้องขังความผิดยาเสพติด 807 คน จากผู้ต้องขัง 1,115 คน
10.) เรือนจำอำเภอสวรรคโลก : ผู้ต้องขังความผิดยาเสพติด 513 ราย จากผู้ต้องขัง 660 ราย
11.) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของศป.ปส.อ. 9 อำเภอ