ผุ้แทนสำนักงาน ปปส. ภาค 6 เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 8 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุม 301 ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์

เมื่อวันที่ : 20 มิ.ย. 2567 15:18
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 6
2 ครั้ง
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.30 น. สำนักงาน ปปส.ภ.6 โดย นายรณยุทธ ศรีน้อย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ส่วนประสานพื้นที่ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 8 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุม 301 ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนายชุมพิชญ์ เดชะรัฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานการประชุม สรุปสาระสำคัญการประชุม ดังนี้
1.ผู้แทน ปปส.ภาค 6 นำเสนอ 
    - สถานการณ์ยาเสพติดรอบ 6 เดือน ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 สถิติการจับกุมคดียาเสพติด สถิติการเข้ารับบำบัด การจับกุมคดีสำคัญ การเฝ้าระวังและแนวโน้มสถานการณ์
   -  แผนปฏิบัติการเร่งรัดการดำเนินงานป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ระยะเร่งด่วน 3 เดือน         (1 มิ.ย. - 31 ส.ค. 2567)
    - แนวทางการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน) ประจำปี 2567
    - การพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
2.ฝ่ายเลขานุการ ศอ.ปส.จ.นครสวรรค์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2567 ตามตัวชี้วัดของหน่วยงาน (ห้วงเดือนตุลาคม 2566-พฤษภาคม 2567)
3. ฝ่ายเลขานุการ ศอ.ปส.จ.นครสวรรค์ แจ้งคำสั่งคณะทำงานตรวจติดตามประเมินผลและนิเทศงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จังหวัดนครสวรรค์  
4. ฝ่ายเลขานุการ ศอ.ปส.จ.นครสวรรค์ แจ้งคำสั่งคณะทำงานบูรณาการ คัดกรอง บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และฟื้นฟูสภาพทางสังคม จังหวัดนครสวรรค์
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ รายงานการดำเนินโครงการ TO BE NUMBER ONE จังหวัดนครสวรรค์ เดือนเมษายน 2567
6. ศป.ปส.อ. รายงานการดำเนินงานบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด รูปแบบ “นครสวรรค์โมเดล” 
7. ฝ่ายเลขานุการ ศอ.ปส.จ.นครสวรรค์ แจ้งแผนปฏิบัติการเร่งรัดการดำเนินงานป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ระยะเร่งด่วน 3 เดือน จังหวัดนครสวรรค์ (1 มิ.ย. - 31 ส.ค. 2567)
8. ฝ่ายเลขานุการ ศอ.ปส.จ.นครสวรรค์ นำเสนอโครงการสร้างความปลอดภัยและจัดระเบียบสังคมในพื้นที่
9.ประธานฯ ให้ข้อเสนอว่า ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติการเร่งรัดฯ 3 เดือน “ความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัด” ควรมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้และความพึงพอใจในวงกว้าง
YouTube search download
Q&A FAQ