ผู้แทนสำนักงาน ปปส. ภาค 6 เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานบูรณาการคัดกรอง บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และฟิ้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัดพิจิตร ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร

เมื่อวันที่ : 20 มิ.ย. 2567 15:17
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 6
2 ครั้ง
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. สำนักงาน ปปส.ภ.6 โดยนางสาวเนาวรัตน์ นาคดี นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ ปพ. เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานบูรณาการคัดกรอง บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และฟิ้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัดพิจิตร ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร โดยมีนายอดิเทพ กมลเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานการประชุม และแพทย์หญิงผกามาศ เพชรพงศ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร เป็นฝ่ายเลขาฯ พร้อมด้วยส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมีสาระสำคัญในการประชุมสรุปดังนี้

 
1. ฝ่ายเลขาฯ นำเสนอ ดังนี้
    1.1 คำสั่งจังหวัดพิจิตร ที่ 903/2567 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานบูรณาการคัดกรอง  บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และฟิ้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัดพิจิตร โดยมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนแนวทางและการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
    1.2 การขับเคลื่อนนโยบายของ สธ. ในด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด โดยมีจุดเน้นการดำเนินงาน ได้แก่
          1) ให้ศูนย์คัดกรอง ทั้งในสังกัด สธ. และ อปท. สามารถลงข้อมูล บสต. จำแนกและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อบำบัดได้
          2) ใน รพศ. รพท. ให้มี ward จิตเวชและยาเสพติดทุกจังหวัด รวมถึงให้มีการจัดตั้งมินิธัญญารักษ์ทุกจังหวัด ในส่วนของ รพช. ให้มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดทุกโรงพยาบาล
         3) สนับสนุนการดำเนินงานของสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของทหารและกองร้อยอาสาฯ
         4) ให้มีการขึ้นทะเบียนศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมให้ครอบคลุมจนถึงระดับตำบล
         5) ขึ้นทะเบียนและพัฒนา SM/CM ให้พร้อมดำเนินการในพื้นที่
         6) จัดทำแนวทางในการดูแลผู้ป่วย SMIV และซ้อมแผนเผชิญเหตุให้ครบทุกจังหวัด
         7) สนับสนุน ขับเคลื่อน CBTx ชุมชนล้อมรักษ์
    1.3 การดำเนินงานของโรงพยาบาลบางมูลนาก ซึ่งเป็นโรงพยาบาลมินิธัญญารักษ์ มีเตียงรองรับผู้ป่วย จำนวน 5 เตียง ให้การดูแลแบบ Intermediate care และโรงพยาบาลพิจิตรมีเตียงรองรับผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 10 เตียง
    1.4 จังหวัดพิจิตรได้ส่งผู้ป่วยยาเสพติด จำนวน 7 คน ไปเข้ารับการฟื้นฟูที่สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กองบิน 4 จ.นครสวรรค์ และกองบิน 46 จ.พิษณุโลก ซึ่งเปิดรับผู้ป่วยในรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม ถึง 14 มิถุนายน 2567
    1.5 ผลการดำเนินงาน CBTx ชุมชนล้อมรักษ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 22 พฤษภาคม 2567 จำนวนทั้งสิ้น 172 ราย

 
2. ประธานมีข้อสั่งการให้ตำรวจ ปกครอง นำข้อมูลและตัวผู้ติดยาเสพติดที่ได้รับจากการ X-ray ส่งให้ รพ.สต. คัดกรอง เพื่อจำแนกระดับการเสพติด และอาการทางจิตเวช เพื่อส่งเข้ารับการบำบัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 
3. รพ.โพธิ์ประทับช้างแจ้งว่า จะจัดการซ้อมแผนเผชิญเหตุผู้ป่วยคลุ้มคลั่งอาละวาด ในห้วงเดือนมิถุนายน 2567

 
4. ผู้แทนตำรวจภูธรจังหวัดพิจิตร แจ้งว่า จะมีการดำเนินโครงการชุมชนบำบัดอย่างยั่งยืนในพื้นที่แพร่ระบาดยาเสพติดตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เป็นเวลา 3 เดือน ในห้วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567

 
5. ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
    1) ความเพียงพอของชุดอุปกรณ์ไม้ง่ามของตำรวจ ต่อการดำเนินงาน
    2) ความเพียงพอของเตียงรองรับผู้ป่วยจิตเวชของโรงพยาบาลพิจิตรและโรงพยาบาลบางมูลนาก
    3) อัตราการ drop out ที่สูงของผู้ป่วยยาเสพติด
    4) ผู้ว่าราชการจังหวัดควรเน้นย้ำนโยบายเรื่องยาเสพติดกับ อปท. เนื่องจาก อปท. อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ว่าฯ
    5) ใช้กลไก พชอ. ในการขับเคลื่อนงาน CBTx ชุมชนล้อมรักษ์ และพิจารณางบประมาณในการดำเนินการจากงบ สป.สช. ของท้องถิ่น
YouTube search download
Q&A FAQ