วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00น. สำนักงาน ปปส.ภ.6 โดยนายวิทวรรณ นุชแผน นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ วฝ. และนางสาวเนาวรัตน์ นาคดี นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ ปพ. เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษายาเสพติดจังหวัดพิจิตร (โต๊ะข่าว) ประจำเดือนกรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมหลวงพ่อเงิน 3/1 ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดพิจิตร โดยมีนายรณรงค์ สิทธิเขตกรณ์ ปลัดจังหวัดพิจิตร เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมีสาระสำคัญในการประชุมสรุปดังนี้
1. สำนักงาน ปปส.ภ.6 นำเสนอดังนี้
1.1 สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2567 โดยมีการจับกุมผู้ลักลอบลำเลียงยาบ้า จำนวน 8 ล้านเม็ด ที่ด่านตรวจพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
1.2 ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในการประชุม ครม. สัญจร ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ณ จังหวัดนครราชสีมา โดยให้ใช้ “ร้อยเอ็ดโมเดล“ เป็นต้นแบบในการดำเนินการ
1.3 ปฏิบัติการเร่งรัดการดำเนินงานป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ระยะเร่งด่วน 3 เดือน (มิถุนายน - สิงหาคม 2567)
1.4 ติดตามผลการดำเนินงานตามเป้าหมายและตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติการฯ ปี 2567
2. ปลัดอำเภอดงเจริญ รายงานผลการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดในกลุ่มนักเรียน ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอ พบผู้เสพกัญชา จำนวนทั้งสิ้น 8 คน โดยเป็นนักเรียนในระดับชั้น ม.2
3. ผู้แทนตำรวจภูธรจังหวัด (ภ.จว.) พิจิตร นำเสนอ
3.1 ผลการจับกุมคดียาเสพติด ตั้งแต่วันที่ 1 – 9 กรกฎาคม 2567 ได้จำนวนทั้งสิ้น 23 คดี และตรวจยึดของกลางยาบ้าได้จำนวนทั้งสิ้น 4,760 เม็ด
3.2 การยึดอายัดทรัพย์สินคดียาเสพติด มีเป้าหมาย 72 ล้านบาท มีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เดือน 1 ตุลาคม 2566 – 10 กรกฎาคม 2567 จำนวน 15,246,688 บาท คิดเป็นร้อยละ 21.18
4. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร นำเสนอ
4.1 ผลการบำบัดรูปแบบ CBTx ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 7 กรกฎาคม 2567 ดำเนินการได้ 213 คน
4.2 ผลการติดตามผู้ผ่านการบำบัด จำนวนทั้งสิ้น 304 ราย จำแนกเป็น
- ติดตามครบ ไม่เสพซ้ำ 264 ราย
- ติดตามครบ เสพซ้ำ 10 ราย
- ติดตามไม่ครบ เสพซ้ำ 1 ราย
- อื่นๆ ได้แก่ ติดตามไม่ได้ 9 ราย ถูกจับ 17 ราย เสียชีวิต 3 ราย
5. ฝ่ายเลขาฯ ได้แจ้งนโยบาย มท. ให้ ศป.ปส.อ. ทุกอำเภอ ดำเนินการ Re-X-Ray ค้นหาผู้ค้า ผู้เสพ และผู้ป่วยจิตเวช ในพื้นที่ แล้วกรอกข้อมูลลงในแบบรายงานที่กำหนด เพื่อรวบรวมส่งให้ มท. ต่อไป
6. ที่ประชุมมีการหารือปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะดังนี้
6.1 เห็นควรนำร้อยเอ็ดโมเดลมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ต.ท่าฬ่อ อ.เมืองพิจิตร แล้วดำเนินการให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ “ท่าฬ่อโมเดล“
6.2 มีผู้ป่วยบางเคสที่อยู่ระหว่างการบำบัดกับโรงพยาบาล แต่ยังคงเสพซ้ำ แล้วถูกตำรวจจับอีกรอบ ให้ตำรวจประสานกับ รพ.ว่า สมควรให้เข้ารับการบำบัดต่อไป หรือจะให้ตำรวจส่งดำเนินคดี หากผลการบำบัดไม่เป็นที่น่าพอใจหรือผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการบำบัด ให้ รพ. มีหนังสือแจ้งผลไปยังตำรวจ เพื่อส่งดำเนินคดีต่อไป